ธ.ก.ส. ช่วยเหลือเกษตรกร พักหนี้ เงินต้น-ดอกเบี้ย 1 ปี ไม่ต้องลงทะเบียน ใครมีสิทธิ์บ้าง ดูทางนี้
ธ.ก.ส. ช่วยเหลือเกษตรกร พักหนี้ เงินต้น-ดอกเบี้ย 1 ปี
ข่าวดีสำหรับลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 และภัยธรรมชาติ โดย ธ.ก.ส. ได้เพิ่มมาตรการช่วยเหลือให้แก่ลูกค้า ด้วยการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรทุกกลุ่มโดยอัตโนมัติ และยังคงชั้นหนี้เดิมของลูกค้าก่อนเข้าโครงการ
โดยจะมีลูกค้าเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 3,348,378 ราย ล้านราย ต้นเงินกู้กว่า 1,265,492 ล้านล้านบาท เพื่อคลายความกังวลจากภาระหนี้สิน และสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากไปด้วยกัน ตามรายละเอียดต่อไปนี้…
พักชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อไร ถึงงวดไหน ?
พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่งวดเมษายน 2563 – มีนาคม 2564 เป็นเวลา 1 ปี
ธ.ก.ส. พักชำระหนี้ให้ใครบ้าง ?
– เกษตรกรรายคน
– กลุ่มเกษตรกร
– บุคคล
– สหกรณ์
– ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล)
– กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
อยากเข้าร่วมพักชำระหนี้ ธ.ก.ส. ต้องทำอย่างไร
ไม่ต้องทำอะไรเลย ทางธนาคาร ธ.ก.ส. จะให้ท่านพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้โดยอัตโนมัติ โดยไม่เสียเครดิตการชำระเงินกู้ ท่านยังคงชั้นหนี้เดิมของลูกค้าต่อไป
โดยก่อนหน้านี้ ธ.ก.ส. มีมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 มาอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น 4 มาตรการ ได้แก่
1. การขยายระยะเวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย ปลอดชำระต้นเงินใน 3 ปีแรก ให้กับลูกหนี้ปกติ และลูกหนี้ NPL ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 และยังมีสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ในการประกอบอาชีพแก่ลูกหนี้เพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่อง
2. มาตรการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ย 3 เดือน โดยอัตโนมัติ (เมษายน – มิถุนายน 2563) ให้ลูกค้าทุกกลุ่มทั้งประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท) และโครงการสินเชื่อ SME เกษตร (วงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท)
3. มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้า SMEs ได้แก่ มาตรการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ย 6 เดือน โดยอัตโนมัติ (เมษายน – กันยายน 2563) โดยลูกค้าที่ประสงค์ชำระหนี้ ธ.ก.ส. จะคืนดอกเบี้ยร้อยละ 10 ของเงินที่ส่งชำระ นอกจากนี้ยังมีมาตรการสนับสนุนสินเชื่อธุรกิจ SMEs เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการที่มีวงเงินกู้รวมไม่เกิน 500 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เป็นเวลา 2 ปี รัฐบาลรับภาระจ่ายดอกเบี้ยแทน 6 เดือนแรก วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน ร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 62
4. มาตรการสินเชื่อฉุกเฉิน วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นและฉุกเฉินในครัวเรือน ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.1 ต่อเดือน วงเงินกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท กำหนดชำระคืนไม่เกิน 2 ปี 6 เดือนนับจากวันกู้ ไม่ต้องใช้หลักประกัน โดยปลอดชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรกนับจากวันกู้
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรที่เป็นลูกค้าธนาคารและต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ เพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ Call Center 02 – 555 0555
ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร