ข่าวทั่วไปข่าวบันเทิงข่าวสารท่องเที่ยว

ข่าวดีสำหรับลูกจ้าง ! สนช. ผ่านกฎหมายใหม่ เพิ่มค่าชดเชยเลิกจ้าง อายุงาน 20 ปี ได้ 400 วัน

สนช.ผ่านร่างแก้ไขพรบ.คุ้มครองแรงงานเพิ่มค่าชดเชย สำหรับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปได้ 400 วัน พร้อมเพิ่มสิทธิวันลาคลอดเป็น98วัน คาดบังคับใช้ปลาย ม.ค.62

13 ธ.ค. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติ 179 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ให้ร่างแก้ไขพรบ.คุ้มครองแรงงานผ่านการพิจารณาในวาระ 2 และ 3 เพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว โดยสาระสำคัญคือการปรับเพิ่มอัตราค่าชดเชยให้กับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปได้ค่าชดเชยอัตราใหม่เป็น 400 วัน จากเดิม 300 วัน โดยเป็นการปรับเพิ่มเติม สำหรับคนที่ทำงานมาครบ 20 ปี

ขณะที่อัตราค่าชดเชยในช่วงอายุงานอื่นๆยังคงเดิมดังนี้

1.ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน

2. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน

3. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 180 วัน

4. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน

5. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 10ปี ขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 300 วัน

นอกจากนี้กฎหมายใหม่ ยังเพิ่มสิทธิอื่นๆ เช่นสิทธิลาคลอด กำหนดให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร 98 วัน จากเดิมมีสิทธิลา 90 วัน โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลา 45 วัน และอีก 45 วันไปรับจากกองทุนประกันสังคม สำหรับ 8 วันที่เพิ่มขึ้นมา ในกรณีที่ลูกจ้างลาครบ 98 วัน นายจ้างจะค่าจ้างระหว่างลา หรือไม่ก็แล้วแต่นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกัน

ทั้งนี้วันลาเพื่อคลอดดังกล่าว รวมวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนจะคลอดด้วย ซึ่งปัญหาที่ผ่านพบว่าการ ลาเพื่อคลอดบุตร บางฝ่ายตีความว่า ต้องคลอดก่อนจึงจะมีสิทธิลา หรือ ตีความว่า ไม่รวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอด จึงต้องเขียนให้ชัดเจน อีกทั้งหากวันลาคลอด 98 วัน ไปตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดพักร้อน หรือ พักผ่อนประจำปี ก็ให้นับรวมวันหยุดดังกล่าวในระหว่างลาคลอด ด้วย

การประชุมสนช.ใช้เวลาพิจารณาในวาระ 2 -3 ใช้เวลากว่าหนึ่งชั่วโมง ผ่านเป็นกฎหมายด้วยเสียง คะแนนเสียง 179 งดออกเสียง 5 องค์ประชุม 184 เสียง

ข่าวจาก : posttoday

ใส่ความเห็น