ข่าวทั่วไปข่าวบันเทิงความรู้ความรู้ทั่วไปสมุนไพรสุขภาพเคล็ดลับ

เซลล์ประสาทปลายนิ้วชา รักษาด้วย สมุนไพร น้ำสามเกลอ (มีสูตรทำ)

วันนี้มาแนะนำ วิธีการทำ สูตรสมุนไพร “น้ำสามเกลอ” สมุนไพรไทย ที่สามารถ รักษาเซลล์ประสาทปลายนิ้วชา ช่วยลดไขมันในเส้นโลหิต ลดอาการโรคหัวใจพองโต เรามาดูวิธีทำกันดีกว่าครับ

ประกอบด้วย ส่วนผสมของสมุนไพร 3 อย่าง คือ กระเจี๊ยบ + พุทราจีน + มะตูมแห้ง

วิธีทำ

1. นำกระเจี๊ยบ + พุทราจีน + มะตูมแห้ง จำนวนให้เท่ากัน

2. ล้างให้สะอาด นำใส่หม้อเติมน้ำ 3 ลิตรต้ม

3. ต้มประมาณ 20 นาที แล้วยกลงกรองกากทิ้ง

4. เติมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย

5. ดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น

สรรพคุณ

1. ลดไขมันในหลอดเลือด (ซึ่งเป็นไขมันตัวที่ทำให้หลอดเลือดตีบ)

2. ป้องกันเส้นเลือดในสมองตีบ

3. ล้างหินปูนที่เกาะในสมอง

4. ช่วยแก้อาการสมองเสื่อม

5. ลดความดันโลหิตสูง

6. ช่วยในเรื่องเซลล์ประสาทปลายนิ้วชา

7. ทำให้ผนังหลอดเลือดยืดหยุ่นได้

8. ช่วยไม่ให้หลอดเลือดเปราะแตกง่าย

9. ช่วยบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด

10. ช่วยลดอาการของหัวใจโต

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ

ในปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ทางยาอย่างกว้างขวาง นอกจากใช้ขับปัสสาวะแล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล จึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดตีบได้ดี ส่วนสำคัญที่นำมาทำเป็นยาคือส่วนของกลีบเลี้ยง แต่โดยส่วนใหญ่เรามักจะใช้ทั้งดอกและกลีบด้วยกัน กลีบเลี้ยง ใช้รักษาความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ นิยมต้มกับพุทราจีนใช้ป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

ใช่ว่าแต่คนไทยเท่านั้นที่รู้จักการนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่หมอแผนไทยก็จะใช้เพื่อขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ไอ ขับเสมหะ ขับน้ำดี เป็นเครื่องดื่มที่สามารถดื่มได้ทุกเพศทุกวัย แต่ในกรณีที่ใช้เป็นยาอาจจะต้องใช้ปริมาณมากเพื่อให้มีฤทธิ์เข้มข้นเป็นยา หรือหมอบางท่านอาจนำไปเข้ากับตัวยาอื่น ๆ

ในต่างประเทศพบว่ามีการใช้ในแนวทางที่สอดคล้องกับของคนไทย เช่น อียิปต์ ใช้กลีบเลี้ยงดอกกระเจี๊ยบต้มกินรักษาความดันโลหิตสูง ใช้ทั้งต้นต้มกินรักษาโรคหัวใจและโรคประสาท และใช้เป็นยาระบายไขมันในลำไส้ ประเทศกัวเตมาลาใช้กลีบเลี้ยงต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ลดการอักเสบของไต ส่วนชาวอินเดียใช้ใบต้มกินเพราะเชื่อว่าจะทำให้เลือดบริสุทธิ์ หรือใช้ใบตากแห้งต้มกินช่วยแก้ไอ

สรรพคุณของพุทราจีน (สมุนไพรจีน) ในการบำบัดรักษาโรค

– พุทราจีน เป็นสมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์อุ่น รสหวาน นิยมนำมาประกอบในตำรับยาจีน เพื่อช่วยลดฤทธิ์ความรุนแรงของเครื่องยาจีน ช่วยให้ร่างกายดูดซึมยาได้ดีขึ้น และยังช่วยลดอาการแพ้ยาได้อีกด้วย

– ผลสดและแห้งของพุทราจีน (สมุนไพรจีน) มีส่วนช่วยบำรุงร่างกายโดยเฉพาะม้าม ตับ และสมอง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยเพิ่มปริมาณเลือด บรรเทาอาการโลหิตจาง รักษาเบาหวาน รักษาอาการนอนไม่หลับ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดไขมันในเลือด และยังช่วยรักษาอาการตับแข็งในผู้ดื่มสุราได้อีกด้วย

– พุทราจีแห้ง เป็นสมุนไพรจีนที่กินแล้วสามารถป้องกันมะเร็งและรักษาอาการท้องเสียได้

– รากของพุทราจีน ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเปื่อย โรคทางเดินอาหาร และแก้ไข้ได้ และในพุทราจีนจะมีสารเพกทิน (Pectin) ซึ่งจะช่วยจับโลหะหนักที่ตกค้างในร่างกาย และช่วยลดคอเลสเตอรอลได้

– ใบของพุทราจีน จะมีรสฝาด เพราะมีสารแทนนิน (Tannin) ในปริมาณที่สูง ซึ่งสามารรถใช้เป็นยาลดไข้ได้ ส่วนเนื้อในเมล็ดของพุทราจีนจะช่วยผ่อนคลายประสาท ทำให้นอนหลับสบาย

ประโยชน์ทางยาของมะตูม

ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ใบ ผลแก่และสุก เปลือกราก ทั้ง 5 รสและสรรพคุณในตำรายาไทย

ราก รสฝาดปร่า ชา ขื่นเล็กน้อย แก้พิษฝี แก้ไข้ แก้ลมหืดหอบ ไอช่วยบำบัดเสมหะ รักษาน้ำดี

ใบสด รสฝาด ปร่า ซ่า ขื่น มัน เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคลำไส้ แก้ท้องเดิน แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ น้ำคั้นจากใบทาแก้หวัด แก้บวม แก้เยื่อตาอักเสบ

ผลมะตูมแก่ รสฝาดหวาน มีสรรพคุณบำรุงธาตุ เจริญอาหารและช่วยขับลมผาย

ผลมะตูมสุก รสหวานเย็น สรรพคุณแก้ลม แก้เสมหะ แก้มูกเลือด บำรุงไฟธาตุ แก้กระหายน้ำ ขับลมผาย ทั้ง 5 รสฝาดปร่าซ่าขื่น แก้ปวดศีระษะ ตาลาย เจริญอาหาร ลดความดันโลหิตสูง

เปลือกรากและลำต้น รสฝาดปร่าซ่าขื่น แก้ไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้

ใส่ความเห็น