ข่าวทั่วไปข่าวบันเทิงความรู้ความรู้ทั่วไปสมุนไพรสุขภาพเคล็ดลับ

ป่าช้าเหงา เชื่อแล้ว…สรรพคุณรอบด้านจริง ๆ ทั้ง เก๊าท์ เบาหวาน ความดัน ไม่มาเข้าใกล้อีกเลย

ป่าช้าเหงา เป็นพืชที่พบได้ทั่วไปในแอฟริกา มีการใช้รักษาโรคมาลาเรีย อาการปวดท้อง โรคทางเดินอาหาร โรคพยาธิใบไม่ในเลือด โรคบิดมีตัว บาดแผลภายนอก กามโรค โรคตับ มะเร็ง ส่วนไนจีเรียใช้รักษาเบาหวาน

ต้นป่าช้าเหงา สมุนไพรสรรพคุณรอบด้าน

สุภาษิต “ขมเป็นยา”  เคี้ยวใบสดก็ขม แต่หลังจากอมแล้วกลืนจะรู้สึกหวานคอ แต่ถ้าหากใช้ใบสด 4-5 ใบ ต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร 3 เวลา หรือตากใบแห้งทำเป็นผงชาชงก็ลดความขมได้ หรือสะดวกซื้อที่เป็นแคปซูลจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จะได้ไม่ต้องทนขม ถ้าอยากจะปลูกก็แค่เสียบกิ่งปักดิน 1 เดือน ได้กิน รับรอง เก๊าต์ เบาหวาน ความดัน ไม่เข้ามาใกล้เลย

ถูกจัดเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมมาก เพราะตั้งแต่ปี 2547 ที่ทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จัดทำโครงการ “ชลอวัยไกลโรค” ได้สืบหาสมุนไพรสำหรับผู้สูงอายุ ก็ได้พบผมที่ “บ้านสามขา” จังหวัดลำปาง เริ่มวิจัย จัดทำข้อมูล สรรพคุณพบว่า ป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายโดยอัลฟาท็อกซิน ป้องกันสารพิษไม่ให้ตับเสียจากเบาหวาน และไตวาย ปัจจุบันมีขายทั้งต้น สด แห้ง และแบบผง

ต้นหนานเฉาเหว่ย หรือ ต้นป่าช้าเหงา พืชสมุนไพร

ต้นป่าช้าเหงา ปรากฏในตำรายาล้านนาหลายตำรับ ส่วนใหญ่ใช้รักษาโรคเรื้อรังที่หายยาก เช่น โรคสาน หรือโรคที่มีก้อนเนื้อผิดปกติ รวมทั้งฝีต่างๆ ฝีสามตับหรือมะเร็งตับ ฝีสานปอดหรือมะเร็งปอด เป็นต้น โรคขางหรือแผลเปื่อยเรื้อรังตามอวัยวะต่างๆ และนิยมใช้เป็นยาแก้พิษต่างๆ อาทิ พิษจากสารพิษ พิษสุรายาเสพติด

จากการศึกษาพบว่า ใบป่าช้าเหงามีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และป้องกันผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด ต้านการแพ้ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมตับที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเป็นพิษได้ นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงความสามารถในการปกป้องเซลล์ปกติจากกัมมันตรังสีได้อีกด้วย

มีข้อมูลทางโภชนาการยืนยันว่า “ป่าช้าเหงา” มีประโยชน์ในการช่วยบรรเทาปัญหาการขาดสารอาหาร เพราะอุดมไปด้วยโปนตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม โพแทสเซียม ซิงค์ คอปเปอร์ กรดโพลิก และกรดแอสคอบิก หมอยาไทใหญ่และชาวมุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้นิยมใช้เป็นยารักษาโรคฮิตอีกหลายโรค เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง และมีการศึกษาที่ยืนยันว่าสารสกัดป่าเฮ่วหมอง สามารถลดความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดได้ ทั้งในคนที่ระดับน้ำตาลปกติและคนเบาหวาน โดยไม่มีผลให้ระดับน้ำตาลตก และช่วยปกป้องตับ ป้องกันไตเสื่อมจากเบาหวานได้

แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานสมุนไพรป่าช้าเหงาอาจทำให้เกิดภาวะโซเดียมต่ำอย่างมีนัยสำคัญ จึงแนะนำให้รับประทานอาหารรสจัดขึ้น เมื่อมีการรับประทานสมุนไพรชนิดนี้

1.ตำรับยาแก้โรคเบาหวาน ความดัน ลดไข้ ใช้ใบป่าช้าเหงา หั่น ตากแห้ง แล้วชงเป็นชาดื่ม

2.ตำรับยาแก้โรคกระเพาะ ใช้ใบป่าช้าเหงา ตากแห้ง ตำผง กินครั้งละ 1 ช้อนชา

3.ตำรับยาลดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด แก้ไข้ แก้ไอ ปวดศีรษะ นำใบมาล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง แล้วนำมาบดเป็นผงให้ละเอียด จากนั้นนำมาบรรจุแคปซูล รับประทานครังละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร เช้าและเย็น

หรือใช้ใบสด 1 ใบ ล้างให้สะอาด และนำมาเคี้ยวสดๆ วันละครั้ง

หรือใช้ใบสด 4-5 ใบ ตำให้ละเอียด คั้นผสมน้ำต้มสุกเล็กน้อย ให้ได้ประมาณ ½ แก้วชา ดื่มทุกเช้าก่อนอาหาร

ข้อควรระวัง ห้ามใช้ในคนท้องและให้นมบุตร และระวังการใช้ร่วมกับยา Digitoxin และChloroquine

การทดสอบ ทาน ป่าช้าเหงา ลดน้ำตาลในเลือด

มาดูการทดสอบของการกินใบหนานเฉาเหว่ย หรือ ใบป่าช้าเหงา ของชายที่กำลังดังอยู่ในโลกโซเชี่ยลกับการทดสอบสรรพคุณการลดน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานใบ หนานเฉาเหว่ย

ชายผู้ทดสอบรับประทานใบหนานเฉาเหว่ย

ใบหนานเฉาเหว่ย หรือ ใบป่าช้าเหงา

เจาะวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนทานใบหนานเฉาเหว่ย

ก่อนทานใบหนานเฉาเหว่ย วัดระดับน้ำตาลได้ 99 mM

หลังรับประทานใบหนานเฉาเหว่ย วัดได้ 86 mM พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: updatesara และ ขอขอบคุณเจ้าของโพสต์ โจ๋ย บางจาก

ใส่ความเห็น