ข่าวทั่วไปข่าวสารท่องเที่ยวความรู้ทั่วไป

12 ข้อคิด ‘แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีสุข’

12 ข้อคิด ‘แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีสุข’ อย่าอ่านแค่ผ่าน โปรดบอกต่อลูกหลาน เพื่อส่งข่อติดนี้ไปยัง ผู้มีบุญคุญที่เรานับถือ

 

1.อย่าลืมเอาจิตไปพักผ่อนบ้าง
หลายคนเมื่อเกษียณแล้ว มักใช้เวลาหาแต่ความสุขทาง “กาย” พากายไปเที่ยว ไปพักผ่อน ไปสูดอากาศ ไปกินอาหารดีๆ แต่กลับละเลยไม่คิดที่จะเอาจิตไปพักผ่อน ทั้งที่กายกับจิตนั้นสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อกัน ดร.สุเมธ บอกว่า โดยส่วนตัวทุกครั้งที่มีจังหวะได้พักผ่อนเว้นวรรคชีวิตนานๆ จึงมักถือโอกาสเอาจิตไปพักด้วยการบวช ครั้งล่าสุด บวชตอนอายุ 65 เป็นพระสายวัดป่าอยู่ที่สกลนคร
2.ใช้ชีวิต อย่างมี “สติ”
ไม่ว่าจะเป็นการมีสติในการกิน แทนที่จะกินตามใจปาก สนองความอยากของตัวเอง แล้วต้องให้หมอจ่ายยาลดไขมัน ลดน้ำตาล ทำไมเราไม่ลองหันมาลดที่ “ปาก” ของตัวเอง ด้วยการใช้สติในการพิจารณาอย่างมีเหตุมีผลทุกครั้งในการกิน
3.น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยมี “เหตุผล” เป็นเครื่องนำทาง
เหตุผลเป็นผลผลิตของปัญญา ดังนั้น จึงต้องรักษาศีลเสียก่อน และมีสติ สมาธิ ผลสุดท้ายจะทำให้เกิดการพิจารณาโดยใช้ปัญญาเป็นที่ตั้ง เมื่อดำเนินทุกอย่างด้วยเหตุด้วยผล ก็จะเกิดความพอเพียง
4.ฝึกการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ด้วยหลัก “ทาน” ของทศพิธราชธรรม
เกษียณแล้ว อย่าเอาแต่อยู่บ้านเฉยๆ แต่ให้พยายามหาเรื่องช่วยคนโน้นคนนี้ เท่าที่ร่างกายของเราจะทำได้ รักษาร่างกายให้แข็งแรง เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น
5.ฝึกระลึกถึง “มรณานุสติ”
ใครๆ ก็ตายได้ ไม่ว่าใครก็ต้องเจอความตายเท่าเทียมกันหมดทุกคน เมื่อมองเห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดา จะทำให้เรานิ่งกับความตาย
6.อยู่อย่างสง่า ตายอย่างสงบ
ตอนมีชีวิตอยู่ต้องมีความสง่างามในตัวเอง ทุกอย่างต้องช่วยเหลือตัวเองได้ ใครเห็นก็ให้ความเคารพนับถือ และเมื่อถึงเวลาตายก็ตายอย่างสงบ อย่าไปกลัวความตาย จะยิ่งใหญ่แค่ไหน เมื่อตายแล้วเกียรติยศเงินทองสะสมไว้แค่ไหนก็ต้องส่งคืนหมด สิ่งเดียวที่เหลือไว้ คือ ความเป็นตัวตนของเรา ถ้าประกอบคุณงามความดีไว้คนก็ยังนึกถึง แต่ถ้าประกอบความชั่วไว้มาก คนก็ยังด่าทอไปจนถึงลูกหลาน
7.ร่าเริง รื่นเริง คึกคัก ครึกครื้น
คาถาที่ว่านี้ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับสั่งเสมอ เพราะจิตเป็นเรื่องสำคัญ ต้องมีอารมณ์ขันอยู่ตลอดเวลา มองเห็นทุกอย่างเป็นเรื่องสนุก จึงจะสามารถทำงานได้สำเร็จรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เมื่อตัวเราร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส บรรยากาศรอบตัว คนรอบข้างที่อยู่กับเราก็รื่นเริงไปด้วย
8.อักโกธะ หรือ ความไม่โกรธ
เป็นอีกหลักข้อหนึ่งในทศพิธราชธรรม เพราะเมื่อโกรธแล้ว มักจะเสียหายหากคุมอารมณ์ไม่อยู่ในเรื่องไร้สาระ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีเรื่องมากระทบใจ แค่ลองพลิกอารมณ์มองให้เห็นเป็นเรื่องสนุกๆ เท่านี้ทุกอย่างก็จบ
9.อวิโรธนะ คือ การดำรงอยู่ในความถูกต้องเสมอ
เป็นหลักทศพิธราชธรรมที่ต้องรักษาให้มั่น หากอย่างปฏิบัติตามในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยยึดหลักธรรมะที่ต้องมีทั้งสองอย่าง คือ ทั้งความดีและความถูกต้อง เพราะบางอย่างดีแต่ไม่ถูกต้อง บางอย่างถูกต้องแต่ไม่ดี การกระทำของเราต้องตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา เป็นธรรมหรือเปล่า นั่นคือ ดีและถูกต้องหรือเปล่า
10.รักษากายและจิต
ผู้สูงอายุต้องรักษากายให้ดี เพราะเงินทองไม่มีประโยชน์ เอาแค่พอเพียงต่อชีวิตความเป็นอยู่ ที่เหลือเป็นส่วนเกินที่เราไม่ได้ใช้ เรื่องจิตก็สำคัญเช่นกัน ต้องโปร่งใส อย่าไปขุ่นมัวโดยที่ไร้ประโยชน์ คำนึงไว้ว่า เวลาอยู่ในโลกนี้สั้นแล้ว ดังนั้น อย่าเสียเวลาเป็นทุกข์ แต่ให้ Enjoy last minute
10.อย่าหยุดทำงาน
เกษียณแล้ว อย่าเอาแต่นั่งๆ นอนๆ เพราะเมื่อไหร่ที่เราหยุดทำงาน ร่างกายของเราก็จะหยุดตามลงไปด้วย เหมือนรถที่จอดเฉยๆ สตาร์ตไม่ติด ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีรับสั่งว่า อย่าหยุดด้วยจิต และกายก็อย่าหยุดด้วย ทำให้ ดร.สุเมธ ยังคงทำงานทุกวัน ส่งผลให้แข็งแรงจนถึงวันนี้
11.ใช้ชีวิตโดยรักษาความเป็นธรรมดาเอาไว้
อย่ายึดติดยศถาบรรดาศักดิ์ แต่ให้ทำชีวิตอยู่อย่างธรรมดา เรียบๆ ง่ายๆ เพราะจะยิ่งใหญ่มาจากไหน เกษียณแล้ว ทุกอย่างสูงสุดคืนสู่สามัญ ไม่ต้องเป็นวีไอพีหรอก เพราะจะเป็นวีไอผีอยู่แล้ว
12.ยึดถือคำว่า “ประโยชน์สุข” เป็นเป้าหมายของชีวิต
อะไรไม่มีประโยชน์อย่าทำ อย่าคิดทำ ให้ทำแต่สิ่งที่มีประโยชน์ ผลสุดท้ายสิ่งที่เราจะได้รับคือความสุข
แง่คิดดีๆ จาก ดร.สุเมธ ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า คุณค่าและความสุขในชีวิต ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเลขอายุ แต่อยู่ที่ไลฟ์สไตล์และหัวใจที่ไม่มีคำว่าเกษียณ
… ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “สูงวัยอย่างมีคุณค่า น้อมพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง” ในงานประชุมวิชาการประจำปีที่ประชุมผู้บริหารองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ (ทอพ.) “ประชารัฐร่วมใจ สู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ”

 

ใส่ความเห็น