“วิธีสรงน้ำพระที่บ้าน” ขั้นตอน-การทำความสะอาดอย่างถูกต้อง …1 แชร์ ได้บุญ
“วิธีสรงน้ำพระที่บ้าน”
ขั้นตอน-การทำความสะอาดอย่างถูกต้อง …1 แชร์ ได้บุญ
วิธีสรงน้ำพระที่บ้าน อยากรู้ขั้นตอนการทำความสะอาดหิ้งพระ โต๊ะหมู่บูชา และพระพุทธรูปอย่างถูกวิธี วันนี้เรามีวิธีสรงน้ำพระที่บ้านมาบอก การสรงน้ำพระ คือ การทำความสะอาดพระพุทธรูป หิ้งพระ รูปภาพ และสิ่งของต่าง ๆ รวมไปถึงที่ประดิษฐานขององค์พระพระพุทธรูปให้สะอาดบริสุทธิ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า “การถวายเครื่องเถราภิเษก” ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลและสืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบันและต้องทำเป็นประจำทุกปี ถือว่าเป็นการชำระพระวรกายของพระพุทธเจ้าให้ปราศจากมลทิน เพื่อให้เกิดมุทิตาจิต เบิกบานใจ สุขใจ และเกิดความเป็นสิริมคลกับผู้ที่ปฏิบัติและทุกคนในบ้าน นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงถึงความคารพและเสื่อมใสศรัทธาต่อพระรัตนตรัยทั้ง 3 ประการอีกด้วย กระปุกดอทคอมเลยนำวิธีสรงน้ำพระที่บ้านอย่างถูกต้องมาใช้ได้ชม เพื่อให้ผู้ที่เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้นำไปปฏิบัติกัน
อุปกรณ์สรงน้ำพระที่บ้าน
– ผ้าเช็ดทำความสะอาดผืนใหม่หรือฟองน้ำสะอาด ๆ
– ขันใส่น้ำสำหรับเช็ดทำความสะอาดทั่วไป
– โต๊ะที่ประดิษฐานชั่วคราว
– พานและถาดรองตามความเหมาะสม
– เครื่องหอม (ดอกไม้หอม, พวงมาลัย, น้ำหอม/ น้ำอบ/ น้ำปรุง)
– ขันใส่น้ำสำหรับสรงน้ำพระ
ขั้นตอนการสรงน้ำพระที่บ้าน (ถวายเครื่องเถราภิเษก)
1. เริ่มจากอันเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาเช็ดทำความสะอาดเบื้องต้นด้วยผ้าผืนใหม่หรือฟองน้ำสะอาดทีละองค์ ถ้าหากเป็นกรอบรูปก็ให้ใช้ฟองน้ำชุบน้ำบิดหมาดแล้วเช็ดให้เกลี้ยงเกลา
2. จากนั้นอันเชิญพระพุทธรูปทั้งหมดไปประดิษฐานไว้ที่พาน โดยมีรองถาดรองบนโต๊ะที่ประดิษฐานชั่วคราว พร้อมทั้งประดับประดาโต๊ะด้วยดอกไม้หอม กลีบดอกไม้ และพวงมาลัยให้สวยงาม
3. ต่อมาก็เตรียมเครื่องหอม โดยการโรยดอกไม้หอม พวงมาลัย น้ำหอม น้ำอบ หรือน้ำปรุงใส่ในขันน้ำสะอาดไว้สำหรับสรงน้ำพระ
4. หลังจากนั้นก็หันมาทำความสะอาดที่ประดิษฐานองค์พระประจำบ้าน เช่น หิ้งพระ โต๊ะหมู่บูชา และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับที่ประดิษฐานองค์พระให้สะอาดสะอ้าน
5. ขั้นตอนสุดท้ายก็ถึงเวลาที่ทุกคนในบ้านต้องมาตั้งจิตอธิฐานและร่วมสรงน้ำพระไปพร้อม ๆ กัน โดยการนำขันน้ำที่ใส่เครื่องหอมเตรียมไว้มาสรงที่พระพุทธรูปให้ครบทุกองค์ พร้อมกับกล่าวขอขมา ดังต่อไปนี้
การกล่าวขอขมาก่อนสรงน้ำพระที่บ้าน
– ก่อนอันเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานที่สรงน้ำชั่วคราว ให้กล่าวขอขมาเพื่อไม่ให้เกิดโทษ โดยการตั้งนะโม 3 จบ และตามด้วย “ระตะนัตตะเย ปะมาเทนะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต” แล้วจึงอันเชิญพระพุทธรูปไปยังที่ประดิษฐานชั่วคราว
– ก่อนเริ่มสรงน้ำพระพุทธรูปด้วยน้ำสะอาดที่ปรุงด้วยเครื่องหอมนั้น ให้ตั้งนะโม 3 จบ และตามด้วย “อิมินา สิญฺจะเนเนวะ โรโค โสโก อุปัททะโว นิพพันตุ สัพพะโส เอเต สุขี โหนตุ นิรันตะรัง” เพื่อกล่าวคำอธิฐาน แล้วค่อยตักน้ำสรงพระพุทธรูปต่อไป