ข่าวทั่วไปข่าวสารท่องเที่ยวความรู้ทั่วไปสุขภาพ

รู้หรือไม่ ! ใครเป็นนิ่ว โรคไต เบาหวาน โรคเก๊า รักษาด้วย ใช้ ต้นหญ้าพันงู รักษา ด้วยวิธีนี้….

 

รู้หรือไม่ ! ใครเป็นนิ่ว โรคไต เบาหวาน โรคเก๊า รักษาด้วย ใช้ ต้นหญ้าพันงู รักษา ด้วยวิธีนี้….

 

ต้นหญ้าพันงู ถอนมาตากแห้งแล้วต้มกินแทนน้ำ มีสัพคุณทางด้านของการรักษาโรค ไต *เบาหวาน*โรคเก๊า* ได้ผลดีมากเลยครับแม่ผมเองที่เป็นโรคเบาหวานโรคเก๊าและไตเหลือแค่4%หมอบอกว่าจะต้องล้างไตแล้วนะแต่ดวงดีที่มีคนมาบอกให้เอาต้นหญ้าพันงูต้มกินแม่ผมต้มกินไม่ถึงครึ่งเดือนไปตรวจตามหมอนัดเบาหวานกลับเป็นปกติเก๊าที่เป็นอยู่ก็ไม่ปวดเดินได้คล่องไตก็กลับมาเป็น 46% ครับ

 

 

 

หญ้าพันงู ราชาของยาขับปัสสาวะ โรคนิ่ว

หญ้าพันงูเป็นสมุนไพรที่มีการใช้ในประเทศอินเดียมานานนับพันปี ในการรักษาโรคนิ่ว โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของสตรี ใช้เป็นยาคุมกำเนิด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หอบ หืด ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบาย ท้องมาน แผล ฝี หนอง ข้ออักเสบ เป็นต้น

การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สอดคล้องกับการใช้ของคนโบราณ โดยพบว่า หญ้าพันงูมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ทำให้แท้ง มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน ต้านความดันโลหิตสูง ต้านเชื้อรา ต้านแบคทีเรีย ต้านมาลาเรีย ต้านโรคเรื้อน ลดน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ยับยั้งการมีปริมาณ Oxaiate ในปัสสาวะสูงกว่าปกติ และมีรายการศึกษาในคน พบว่าหญ้าพันงูมีแนวโน้มที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคหอบหืด

ชาวล้านนาโบราณเชื่อว่า เมื่อเอาใบหรือรากหญ้าควยงูมาบดละเอียดแล้วผสมกับน้ำนมวัวสด ใช้ทาสะดือของหญิงที่มีบุตรยาก จะทำให้มีบุตรง่ายขึ้นชาวบ้านส่วนใหญ่จะรู้ดีว่าพืชชนิดไหนบ้างที่เมื่อเผาแล้วนำเถ้ามาละลายน้ำจะได้น้ำด่างที่ดี หญ้าพันงูเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัตินั้น

รู้คุณสมบัติทางยาของหญ้าพันงูขาวแล้วรีบหามาปลูกนะครับ บางท้องที่ขึ้นดาษดื่นไม่มีใครสนใจเยียบย่ำไปมา คุณทิพย์ประสิทธิ์ สุวรรณจามรี บอกว่าที่มาเลเซียก็เช่นเดียวกัน น้อยคนนักจะรู้คุณค่าของสมุนไพรชนิดนี้ แท้จริงแล้วหญ้าพันงูขาว คือสุดยอดยารักษานิ่ว จนได้รับการขนานนามจากวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น ราชาของยาแก้นิ่ว ขับปัสสาวะ

ข้อมูลสุขภาพ ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

นอกจากนี้ต้นหญ้าพันงูใช้ทำเป็นปุ๋ยได้ดีเนื่องจากมีธาตุโปแตสเซี่ยมค่อนข้างสูง

ข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์

สามารถรับข้อมูลสุขภาพจากผักพื้นบ้านและสมุนไพรเพิ่มเติมได้ที่เว็บไชต์ชมรมผักพื้นบ้าน www. thaiherguoup.com

ใส่ความเห็น