ผู้ป่วยเฮ ! รพ.จุฬาภรณ์ใช้ “Hyperthermia” ทำลายมะเร็งได้ทุกตำแหน่ง ทุกระยะ ข่าวดีแบบนี้ต้องช่วยกันแ ช ร์….
รพ.จุฬาภรณ์ใช้ “Hyperthermia” ทำลายมะเร็งได้ทุกตำแหน่ง ทุกระยะ
ช่วยกันลดผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อเป็นบุญช่วยกันแชร์
เครื่องเทอร์โมตรอน คืออะไร?
พญ.สุนันทา ให้ข้อมูลว่า เครื่องเทอร์โมตรอนคือชื่อของเครื่อง แต่แท้จริงแล้วเป็นการรักษาด้วยความร้อนหรือที่เรียกว่า “ไฮเปอร์เทอร์เมีย (Hyperthermia)” ซึ่งหลักการของวิธีการรักษาดังกล่าวคือ การทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิเฉพาะที่สูงกว่าอุณหภูมิร่างกายปกติ โดยเครื่องเทอร์โมตรอน อาร์เอฟ 8 เป็นเครื่องมือแพทย์ที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อนโดยใช้คลื่นวิทยุ 8 เมกะเฮิร์ทซ์ หลักการทำงานคือ การใช้คลื่นความถี่ทำให้เกิดความร้อนแบบทั่วๆ ในบริเวณที่มีรอยโรคมะเร็ง
ผู้ป่วยมะเร็งเฮ ! รพ.จุฬาภรณ์ นำเข้าเครื่อง Thermotron-RF8 ราคากว่า 50 ล้านบาท ใช้ความร้อน 43 องศาทำลายเซลล์มะเร็งได้ทุกตำแหน่ง ทุกระยะโรค ร่วมกับการรักษาแนวทางอื่น ระบุให้ผลดียิ่งขึ้น ช่วยผู้ป่วยเข้าถึงบริการ
ศ.นพ.พิทยภูมิ กล่าวว่า “หลักการทำงานของเครื่องคือ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อนที่อุณหภูมิ 43 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ทำลายเซลล์มะเร็งได้ เนื่องจากเซลล์มะเร็งเป็นเนื้อร้าย ไม่มีความยืดหยุ่นทำให้เก็บกักความร้อนจนทำลายตัวเอง ขณะที่เนื้อเยื่อปกติมีความยืดหยุ่นจะถ่ายเทความร้อนออกสู่ร่างกายเอง โดยไม่ส่งผลใดๆ
ทั้งนี้ สามารถทำลายได้ทั้งเซลล์มะเร็งที่อยู่ไม่ลึกจากผิวหนัง และลึกลงไปภายในร่างกาย ใช้ทำการรักษาได้ในเกือบทุกตำแหน่งอวัยวะ แต่เป็นแบบเจาะจงได้ตรงตำแหน่งก้อนเนื้องอก ทำให้มีขนาดก้อนที่เล็กลงหรือหยุดการเจริญเติบโต และรักษาได้ทุกระยะ เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิด”
“การทำงานจะได้ผลดีเมื่อใช้ร่วมกับการรักษาแนวอื่น ทั้งการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งข้อดีคือช่วยให้ผู้ป่วยไม่ทรมาน ลดผลข้างเคียงจากการรักษาแนวอื่น เช่น ลดการฉายรังสีเหลือ 50-60% แต่ผลการรักษาเท่ากัน อาการข้างเคียงไม่มี ซึ่งเดิมทีหากฉายรังสี 100% ผู้ป่วยอาจรับไม่ไหว หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องตับอ่อนจะรักษายากมาก เพราะผ่าตัดหรือฉายรังสีไม่ได้ ต้องใช้เคมีบำบัด ซึ่งอาจได้ผล 30-40% แต่หากใช้วิธีนี้ร่วมด้วย จะทำให้ผลการรักษาเพิ่มขึ้นอีก”
เครื่องเทอร์โมตรอนใช้ร่วมในการรักษามะเร็งอะไร?
พญ.สุนันทา กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับวิธีหลักในการรักษา หากเป็นการฉายแสงคู่กับความร้อน จะใช้ในการรักษามะเร็งปากมดลูก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา อย่างไรก็ตาม มะเร็งปากมดลูก การรักษาแบบครบถ้วนตามมาตรฐานคือ การฉายแสงคู่กับการให้เคมีบำบัด ซึ่งหากสามารถรักษาได้ครบตามมาตรฐานก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยความร้อน แต่หากมีปัญหา เช่น ไตทำงานไม่ดี ไม่สามารถรับคีโมได้ เหลือเพียงฉายแสงอย่างเดียว ก็อาจพิจารณาใช้ความร้อนควบคู่ในการรักษา เพราะในอดีตเคยมีการศึกษาพบว่า เมื่อใช้ความร้อนรักษาคู่กับฉายรังสีในมะเร็งปากมดลูก พบว่า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฉายแสงได้ ส่วนการใช้คีโมคู่กับความร้อน เช่น มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน มะเร็งตับอ่อน
ผอ.รพ.จุฬาภรณ์ กล่าว
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ manager