แชร์เก็บไว้เลย !! โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคร้ายที่แอบทำร้ายคุณได้อย่างไม่คาดคิด
แชร์เก็บไว้เลย !! โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคร้ายที่แอบทำร้ายคุณได้อย่างไม่คาดคิด
“โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่” เป็นโรคที่พบมากในเพศชายเป็นอันดับ 3 และพบมากในเพศหญิงเป็นอันดับ 5
ด้วยเหตุนี้ หากเมื่อพูดถึงมะเร็งทีไร หลายคนมักให้ความหวาดกลัวกับโรคนี้กันเป็นอย่างมาก
ไม่ว่ามันจะเกิดกับอวัยวะส่วนใดของร่างกายก็ตาม เราก็ไม่ควรนิ่งนอนใจทั้งสิ้น เพราะมันเป็นโรคซึ่งเปรียบได้กับฆาตรกรเงียบซึ่งแองแฝงอยู่ในร่างกายคนเรา
กว่าจะตรวจพบโรคร้ายผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็มีระยะลุกลามใหญ่โตไปมากแล้วทำให้ทั้งยากต่อการรักษาให้หายขาดได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อเราป่วยเป็นมะเร็งก็ไม่ได้หมายความว่าโอกาสในการรักษาให้หายจะไม่มีเลย เพราะผู้ป่วยบางคนยังมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ เช่นเดียวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งร้ายอีกชนิดหนึ่งที่ซุ่มเงียบภายในร่างกาย
อาการของโรคก็ส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับความผิดปกติบอกเราเป็นระยะอยู่เสมอ ดังนั้น เพื่อการไม่ชะล่าใจจนสายเกินไป เรามาทำความรู้จักกับสาเหตุที่มาที่ไปของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สัญญาณเตือนของโรค อาการที่แสดง การรักษาตลอดจนแนวทางปฎิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้กันดีกว่า
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
สาเหตุในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัด แต่มีความเชื่อกันหลักๆ อันเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารในแบบผิดๆ
รวมถึงการใช้วิถีชีวิตที่เสี่ยงให้เกิดโรงดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่ให้ใยอาหารน้อยแต่กลับกินเนื้อสัตว์ที่อุดมด้วยปริมาณไขมันสูงมากกว่า
นอกจากนี้ การไม่ออกกำลังกายยังทำให้เกิดไขมันสะสมอันนำมาสู่โรคอ้วนและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำก็ย่อมเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สูงเช่นเดียวกัน และหากสมาชิกภายในบ้านมีผู้ป่วยเป็นโรคดังกล่าวคุณก็ย่อมมีโอกาสป่วยไปด้วยได้เช่นกัน เพราะมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถถ่ายทอดจากกรรมพันธุ์ได้มากถึง 2-3 เท่าตัวเลยทีเดียว
วิธีป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
สำหรับวิธีป้องกันโรคมะเร็งลำไส้นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ดังนี้
1.กินอาหารโดยเน้นไฟเบอร์ที่มีประโยชน์เหมาะสม
อันดับแรกควรใส่ใจเรื่องพฤติกรรมการเลือกกินอาหารก่อนค่ะ โดยหันมากินผักผลไม้หรือเน้นกินอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูงปริมาณมากเป็นประจำ เพราะจะช่วยป้องกันเรื่องอาการท้องผูกและช่วยป้องกันมะเร็งสำไส้ใหญ่อย่างได้ผล โดยใยอาหารที่เรากินเข้าไปมันจะไปรวมตัวกันเป็นอุจจาระ
ที่สำคัญอย่าลืมดื่มน้ำสะอาดต่อวันอย่างเพียงพอ เพื่อให้อุจจาระเกิดการอ่อนตัวซึ่งจะทำให้เราขับถ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เซลล์ของลำไส้ใหญ่มีความแข็งแรงขึ้นด้วย
คำแนะนำ : เน้นกินอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูงแทนอาหารชนิดที่ให้ไฟเบอร์ต่ำ เช่น การกินขนมปังโฮลวีทซึ่งอุดมด้วยใยอาหาร วิตามินและสารอาหารอื่นๆ หลายชนิด แทนการกินขนมปังสีขาวที่ผ่านการขัดสีจนไม่มีไฟเบอร์หรือวิตามินใดๆ หลงเหลือ
ในด้านของการกินผักผลไม้นั้น พยายามหันมากินแบบดิบบ้างโดยพยายามกินให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะกินได้ หรือหากใครนิยมกินแบบสุกก็สามารถนำไปผัด นึ่งหรือต้มก็ได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ในมื้ออาหารว่างแนะนำให้กินพืชตระกูลถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วเปลือกแข็งต่างๆ เมล็ดถั่วและอาหารประเภทธัญพืชก็ควรบริโภคเป็นประจำทุกมื้อเช่นกันค่ะ
หากคุณปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินอาหารที่เน้นไฟเบอร์สูงอย่างเหมาะสมดังกล่าวได้แล้ว ย่อมลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างแน่นอน ที่สำคัญอาหารเหล่านี้ยังมีผลต่อระดับอินซูลินทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานในตัวได้ด้วย
2.ออกกำลังกายเป็นประจำ
เพื่อการมีสุขภาพแข็งแรง นอกเหนือจากการกินอาหารที่เหมาะสมแล้ว เรายังควรหันมาใส่ใจการออกกำลังกายเป็นประจำด้วยนะคะ และการออกกำลังกายก็มีผลการวิจัยยืนยันออกมาแล้วว่ามันสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากถึง 50% เลยทีเดียว ดังนั้นแล้ว เราจึงควรหาเวลามาออกกำลังกายกันบ้าง อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้งค่ะ
คำแนะนำ : การออกกำลังกายที่ดีที่สุด คุณไม่จำเป็นจะต้องออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอซึ่งค่อนข้างใช้พลังงานแบบหักโหมหนักจนเกินไปก็ได้ แต่อาจจะหันมาออกกำลังกายตามไลฟ์สไตล์ที่คุณชื่นชอบ เช่น เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำและเต้นแอโรบิก เป็นต้น
สาวๆ ที่อยากจะออกกำลังกายแบบเบาๆ การเล่นโยคะหรือแม้แต่การทำงานบ้านก็ยังนับเป็นการออกกำลังกายที่ดีอีกทางหนึ่งได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นแล้ว เราจะเห็นได้ว่าการออกกำลังกายสามารถกระตุ้นให้ระบบลำไส้ใหญ่เกิดการเคลื่อนไหวตัวไปพร้อมขณะที่ร่างกายของเราเคลื่อนที่ได้เสมอ
ซึ่งมันจะส่งผลไปกระตุ้นผนังลำไส้ให้เกิดการบีบตัว ระบบขับถ่ายก็จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในลำดับต่อมานั่นเอง
สัญญาณเตือนเมื่อคุณเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อยและหากเกิดขึ้นแล้วก็ยังมีโอกาสสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จะต้องตรวจพบกันตั้งแต่เนิ่นๆ เท่านั้น
โดยสาเหตุอันนำมาสู่การเป็นมะเร็งล้วนเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น เกิดจากความเครียด การเปลี่ยนยาหรือเกิดจากการที่โรคภายในลำไส้เกิดการแปรปรวน IBS) ด้วยเหตุดังกล่าว คุณจะเห็นว่าการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากเซลล์มะเร็งก่อตัวเสมอไป
ฉะนั้น เพื่อให้คุณรู้เท่าทันโรคตั้งแต่เนิ่นๆ เรามาสำรวจดูอาการของตนเองกันบ้างดีกว่า เพราะหากพบอาการดังต่อไปนี้ จะได้ไม่ชะล่าใจและควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ทันท่วงทีนั่นเอง
อาการเตือนสู่การป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
– น้ำหนักลดลงรวดเร็ว โดยที่ไม่รู้สาเหตุ
– มีอาการปวดท้องหรือปวดบริเวณรูทวารหนัก
– มีความรู้สึกเหมือนถ่ายออกไม่หมด ทั้งที่เพิ่งถ่ายเสร็จใหม่ๆ
– ถ่ายออกมาเป็นเลือด
– ระบบการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไปหรือมีความผิดปกติ เช่น ท้องเสียหรือท้องผูกซึ่งเป็นแบบไร้สาเหตุและยังเป็นอยู่นานเกินกว่า 6 สัปดาห์
ในระหว่างที่ระบบขับถ่ายมีความผิดปกติเกิดขึ้นซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์ คุณควรสังเกตอาการของตนเองไปพร้อมกัน และควรหันมาปรับพฤติกรรมการกินอาหารเสียใหม่
โดยกินอาหารที่นิ่ม ย่อยง่าย เน้นกินผักผลไม้ที่ให้ไฟเบอร์สูง เนื้อสัตว์ก็ควรเลือกกินประเภทย่อยง่ายเช่นกัน เช่น ปลา กุ้ง ไก่และหมู หลีกเลี่ยงหมึก เนื้อวัวหรือเนื้อควายและอาหารที่มีไขมันสูงหรือประกอบด้วยหนังที่เป็นมันมาก เพราะจะทำให้ย่อยยากส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้เช่นเดียวกัน
กรณีที่คุณต้องการซื้อยามาทานเองควรปรึกษากับเภสัชกรที่ไว้วางใจได้ และหากทานยาแล้วพบว่าอาการไม่ดีขึ้นไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด
โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งยังมีเลือดออกจากรูทวารหนักร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องต่อไปดีกว่า เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจกำลังส่งสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงบางชนิดที่อาจจะหนักกว่า แค่การเป็นริดสีดวงทวารแบบธรรมดาก็เป็นได้
การตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่
แพทย์จะตรวจผู้ป่วยด้วยวิธีการส่องกล้อง แต่ไม่จำเป็นจะต้องตรวจเป็นประจำทุกปี เพราะการตรวจเช่นนี้สามารถตรวจเพียงครั้งเดียวก็สามารถครอบคลุมไปได้ประมาณ 5-10 ปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม การตรวจเพื่อหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นจะเป็นไปหลายระยะ โดยเริ่มตั้งแต่ระยะแรกซึ่งเป็นระยะที่ยังไม่มีเชื้อมะเร็งลุกลามเข้าไปยังผนังลำไส้นั่นเอง และโอกาสในการรักษาหายขาดก็ค่อนข้างมีสูง
การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
สำหรับการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น แพทย์จะรักษาโดยการผ่าตัดติ่งเนื้อผ่านกล้องซึ่งผู้ป่วยจะมีโอกาสหายขาดสูงถึง 100% เลยทีเดียว ทว่าระยะนี้มักเป็นการตรวจพบโรคได้แบบโดยบังเอิญเสียส่วนใหญ่หรืออาจเรียกว่า เป็นการรักษาในระยะเริ่มต้นที่มะเร็งยังไม่ลุกลามไปมากนั่นเอง
การรักษาระยะที่ 1-2
ระยะนี้มะเร็งจะเริ่มลุกลามเข้าไปถึงผนังลำไส้แล้วค่ะ การรักษานั้นก็จะใช้วิธีผ่าตัดลำไส้ในส่วนที่เป็นเซลล์เนื้อมะเร็งออกไป แต่ไม่จำเป็นต้องรักษาโดยการให้เคมีบำบัดหรือฉายแสงต่อ และผู้ป่วยยังมีโอกาสหายขาดร้อย 80-90 อีกด้วย
การรักษาระยะที่ 3
ระยะนี้มะเร็งได้แพร่ลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว สำหรับการรักษานั้นแพทย์จะใช้วิธีผ่าตัดร่วมกับการให้เคมีบำบัดและการฉายรังสี
การรักษาระยะที่ 4
ระยะนี้ถือเป็นระยะสุดท้ายของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะตรวจพบว่าเซลล์มะเร็งนั้นได้ลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตับและปอด เมื่อเซลล์มะเร็งลุกลามไปมากแพทย์ก็จะรักษาโดยการผ่าตัดร่วมกับการให้เคมีบำบัดเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทางการแพทย์ปัจจุบันจะมีเครื่องมือวินิจฉัยและมีวิธีการรักษาในเทคนิคใหม่ต่างๆ ที่ก้าวล้ำไปมากขึ้นเพียงใด หากก็มิอาจยืนยันได้เสมอไปว่าผลการรักษามะเร็งทุกชนิด รวมถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นจะหายขาดทุกราย
ทั้งนี้ เนื่องจากจะต้องขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของผู้ป่วยในแต่ละรายนั้นๆ และขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งที่ลุกลามด้วย หากตรวจพบโรคในระยะแรกเริ่มหรือยังไม่ใช่ระยะสุดท้าย โอกาสในการรักษามะเร็งทุกชนิดก็ย่อมมีโอกาสหายสูงแน่นอน หรืออย่างน้อยๆ ก็ยังสามารถให้การรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคอง จนกระทั่งช่วยยืดอายุและยืดการมีคุณภาพชีวิตที่ดีจนทำให้อยู่บนโลกนี้ต่อไปได้หลายปีมากขึ้น
กินไขมันดีช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
นอกจากคำแนะนำด้านการกินอาหารที่เน้นไฟเบอร์จากผักผลไม้สูงแล้ว เรายังมีผลการวิจัยใหม่ออกมาชี้แจงให้คุณได้ทราบเกี่ยวกับคอเลสเตอรอลในเลือดอันมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้อีกด้วย กล่าวคือ ผู้ที่ร่างกายมีระดับไขมันดีในกระแสเลือดสูง ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้น้อยกว่าคนที่มีระดับไขมันเลวในกระแสเลือดมากกว่า
โดยด้านนักวิทยาศาสตร์ต่างเชื่อกันว่า ปริมาณของไขมันดีที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือดคนเรานั้นจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถรับมือกับภาวะของการติดเชื้อมะเร็งได้
เนื่องจากระดับไขมันดีที่เพิ่มสูงขึ้นย่อมหมายถึง การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพราะไขมันดีจะมีหน้าที่คอยผลักดันหรือกำจัดเอาไขมันส่วนเกินไขมันเลว)ในกระแสเลือดออกไป กระทั่งมันถูกส่งต่อไปยังตับและตับก็จะทำหน้าที่กำจัดของเสียนี้ให้หลุดออกจากร่างกายต่อไป และไม่เพียงแค่การบริโภคอาหารที่มีไขมันชนิดดีต่อร่างกายเท่านั้นที่จะช่วยต่อกรกับภาวะการติดเชื้อได้
แต่การเลิกสูบบุหรี่ การลดน้ำหนักและการหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำก็ย่อมมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างระดับไขมันดีขึ้นมาทดแทนระดับไขมันเลวได้เช่นเดียวกัน และไขมันเลวในกระแสเลือดก็จะลดลงได้นั่นเอง
อาหารที่ให้ไขมันดีมีผลต่อการควบคุมมะเร็งลำไส้อย่างไร?
เนื่องจากอาหารบางชนิดได้ผ่านการค้นพบว่ามีคุณสมบัติช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลภายในกระแสเลือดได้ โดยเฉพาะอาหารธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ต จมูกข้าวโอ๊ต ผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นธัญพืชเต็มเมล็ดอย่างถั่วตระกูลเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ วอลนัท ถั่วบราซิลนัท แพลนท์ สเตอรอล (Plant sterols) หรือสารที่มีลักษณะคล้ายกับฮอร์โมนของพืช เมล็ดแฟล็กซ์และน้ำมันจากเมล็ดแฟล็กซ์ก็อุดมด้วยไขมันดีเช่นกัน นอกจากนี้ ปลาทะเลอย่างแซลมอน แมคเคอเรล ทูน่าและปลาทูก็ล้วนอุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดดีต่อสุขภาพ