ข่าวทั่วไปข่าวสารท่องเที่ยวความรู้ทั่วไป

“น้ำคือชีวิต” คุณค่าแห่งน้ำ มรดกจากในหลวงภูมิพล รัชกาลที่ 9 สู่พสกนิกรไทย

 

“น้ำคือชีวิต” คุณค่าแห่งน้ำ มรดกจากในหลวงภูมิพล รัชกาลที่ 9 สู่พสกนิกรไทย

 

%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%95-%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%9e%e0%b8%aa

 

 

คุณค่าแห่งน้ำ มรดกจากในหลวงภูมิพล ให้แก่ราษฎรชาวไทยทั้งแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จึงให้ความสำคัญกับน้ำมากเป็นพิเศษ เพราะน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เริ่มจากร่างกายเองที่มีส่วนประกอบของน้ำมากที่สุด มนุษย์จึงต้องการน้ำมาหล่อเลี้ยงร่างกายเพื่อการดำรงชีพ ปกติแล้วหากมนุษย์อดอาหารนับเดือนก็ยังอยู่ได้ แต่ถ้าขาดน้ำเพียงไม่กี่วันก็ไม่สามารถทนได้แล้ว

นั่นเป็นเหตุผลว่าเหตุใด ในหลวง รัชกาลที่ 9 ถึงรับสั่งตลอดรัชสมัยการครองราชย์ว่า “น้ำคือชีวิต”

อย่างไรก็ตาม ความหมายที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พยายามอธิบายและสร้างโครงการมากมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำเพื่อราษฎรนั้นมีความหมายมากว่าที่คนทั่วไปเข้าใจ นอกจากน้ำจะรักษาชีวิตแล้วยังเป็นส่วนประกอบในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่พสกนิกรของพระองค์นั้นทำเกี่ยวกับเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์

ยามที่พระองค์เสด็จเยือนราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ สิ่งที่ชาวบ้านมักขอพระราชทานนั้น ส่วนใหญ่จะขอน้ำ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรของพระองค์ กว่า 70% เป็นโครงการเกี่ยวกับน้ำทั้งสิ้น เฉพาะในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มีพื้นที่ทางการเกษตร 8 ล้านไร่ ทั้งนาปรัง นาปี  จะต้องมีการใช้น้ำ 7,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

น้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในสังคมชนบท ปัญหา คือ จะทำอย่างไรที่กักน้ำไว้ดื่มใช้ โครงการด้านนี้ในแต่ละปีรัฐบาลจะจัดสรรเงินเป็นพันเป็นหมื่นล้านบาท แม้แต่ในเมืองเอง ในช่วงหน้าแล้งการจะจัดสรรน้ำประปานับวันจะขาดแคลนทวีความรุนแรงขึ้น หากไม่เริ่มต้นทำอะไรสักอย่างอีกไม่ช้าผู้คนในเมืองก็อาจจะขาดแคลนน้ำ  เนื่องจากในเมืองเองมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคสูง รวมถึงการต้องการน้ำจืดเพื่อผลักดันน้ำเค็มที่หนุนบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงปริวิตกต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมาก ทรงหาหาทางแก้ไขหลายหนทาง และมีการศึกษาที่จะพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักซึ่งนอกเหนือจากผลประโยชน์ทางการเกษตรแล้ว ยังจะช่วยชีวิตคนในเมือง เป็นการเตรียมการแก้ไขปัญหาล่วงหน้าเพื่อหนทางที่ทรงดำริขึ้น

พระองค์ไม่นิ่งนอนพระราชหฤทัย ทรงมีพระราชกระแสในเรื่องน้ำหลายครั้ง รวมถึงปัญหาน้ำท่วม และน้ำเน่าเสีย จนมีพระราชดำริให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาอันไม่พึงปรารถนานี้อย่างมากมาย ทรงเสียสละเสด็จฯ ไปตรวจสภาพปัญหาด้วยพระองค์เองหลายครั้งหลายหน มีใครทราบบ้างว่าแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่พระองค์ทรงเป็นผู้วางขึ้นมาทั้งสิ้น

รัชกาลที่ 9 ยังทรงใช้น้ำเป็นเครื่องมือเพื่อฟื้นฟูบูรณะให้ป่าไม้ทรัพยากรธรรมชาติในเขตต้นน้ำลำธารกลับคืนสู่สภาพเดิม และดำรงอยู่ได้ ส่วนป่าก็รักษาความชุ่มชื้นของน้ำไว้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงมุ่งมั่นในการพัฒนาสภาพสิ่งแวดล้อมด้วยไม่ว่าโครงการบึงพระราม 9 ที่คลอง 5 – 6 รังสิต ที่มูลนิธิชัยพัฒนาของพระองค์ ดำเนินการขุดสร้างบึงน้ำขนาดยักษ์เพื่อเก็บกักน้ำในคลองกรุงเทพฯ ในฤดูน้ำหลาก มาบรรเทาความเน่าเสียของน้ำในคลองและใช้ทำเกษตร

หรือจะเป็นประตูกั้นน้ำบางนราเพื่อสกัดน้ำเค็ม ไม่ให้เข้าลึกและทำลายพื้นที่เกษตร สามารถรักษาพรุต่าง ๆ ในระดับที่ควบคุมกรดไพไรต์ไม่ให้ขึ้นบนพื้นดิน อีกทั้ง ยังเป็นแหล่งน้ำจืดเพื่อการบริโภคและอุปโภค หรือจะในกรณีของฝายชะลอน้ำ (Check Dams) หรือฝายแม้ว ซึ่งเป็นฝายเล็กฝายน้อยกระจายอยู่ในภูเขาเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับต้นน้ำลำธารได้มีโอกาสฟื้นตัวกลัวมาอีกครั้ง ล้วนเป็นอัจฉริยภาพของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในการใช้น้ำเพื่อธำรงรักษาสิ่งแวดล้อมของชาติทั้งสิ้น

 

 

 

ใส่ความเห็น