ไขปริศนาจากภาพ ชายผู้นั่งทอดอาหาร ที่มีติดอยู่แทบทุกร้าน
23 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันปิยมหาราช เพื่อน้อมรำลึกและสำนึกในมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5
เรื่องราวของภาพในดวงใจพสกนิกรชาวไทย พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ในอิริยาบถสบายๆ ถูกถ่ายไว้ในในขณะที่พระองค์ประทับ ณ บริเวณ พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต และมีพระประสงค์จะเสวยปลาทู ซึ่งเป็นพระกระยาหารที่โปรดปรานเป็นอย่างมาก อีกทั้งจะหาใครทอดได้ถูกพระราชหฤทัยนั้นก็ยาก มีเพียงแต่เจ้าจอมเอิบเท่านั้นที่ทอดได้อร่อย ไม่เหม็นคาว
แต่คราวนี้ พระองค์ทรงลองทอดด้วยพระองค์เอง อีกทั้งยังรับสั่งให้เจ้าจอมเอิบสลับหน้าที่ไปเป็นช่างภาพ ฉายพระรูปเก็บเอาไว้ เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีข้าราชบริพารคนไหนใช้กล้องเป็นนัก มีแต่เพียงเจ้าจอมเอิบ พระสนมคนโปรดที่สามารถใช้กล้องและสามารถล้างรูปได้ด้วย
ที่มาที่ไปของรูปนี้ ก็มีอยู่ว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงโปรดเสวยปลาทูเป็นอย่างมาก เมื่อพระองค์เสด็จเมืองเพชรคราใดมักจะเอ่ยถึงปลาทูเสมอ ด้วยความที่เจ้าจอมเอิบมีหน้าที่ทอดปลาทูถวายมาตลอด ครั้งหนึ่ง รัชกาลที่ 5 ทรงมีรับสั่งว่า
“เรื่องทอดปลาทูข้าอยู่ข้างจะกลัวมาก ถ้าพลาดไปแล้วข้ากลืนไม่ลง ขอให้จัดตั้งเตาทอดปลาที่สะพานต่อเรือนข้างหน้าข้างใน บอกกรมวังให้เขาจัดรถให้นางเอิบออกไปทอดเตรียมเตาและกระทะให้พร้อม”
พระราชกรณียกิจด้านสังคม ทรงยกเลิกระบบไพร่ โดยให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์ นับเป็นการเกิดระบบทหารอาชีพในประเทศไทย[16] นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเลิก ท า ส แบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากออกกฎหมายให้ลูก ท า ส อายุครบ 20 ปีเป็นอิสระ จนกระทั่งออกพระราชบัญญัติเลิก ท า ส ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ซึ่งปล่อย ท า ส ทุกคนให้เป็นอิสระและห้ามมีการซื้อขาย ท า ส